Maintenance and Service Agreement
เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเป็นข้อตกลงการบำรุงรักษาและบริการ (Maintenance and Service Agreement - MASA) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดขอบเขตและเงื่อนไขการให้บริการในการดูแลรักษาและสนับสนุนระบบ Odoo ที่ได้รับการติดตั้งและนำไปใช้งานแล้ว ทั้งนี้ บริษัท ไซเบอร์เนติกส์ พลัส จำกัด จะทำหน้าที่ในการบำรุงรักษาระบบ Odoo ของลูกค้า เพื่อให้ระบบสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ราบรื่น และต่อเนื่อง ครอบคลุมบริการหลากหลายรูปแบบ อาทิ การแก้ไขปัญหาทางเทคนิค การปรับปรุงและอัปเดตระบบให้ทันสมัย รวมถึงการให้คำปรึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานระบบให้ตรงกับความต้องการขององค์กร
ขอบเขตของบริการตามข้อตกลงนี้จะครอบคลุมเฉพาะส่วนที่ได้รับการติดตั้งและปรับแต่งระบบ Odoo แล้ว ภายใต้โครงการพัฒนาระบบและการติดตั้ง Odoo ERP โดยมีเป้าหมายในการสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของลูกค้าให้เป็นไปอย่างมีเสถียรภาพ ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถมั่นใจได้ว่าการบริการภายใต้ข้อตกลงนี้จะได้รับการดำเนินการอย่างมืออาชีพจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญ พร้อมให้คำแนะนำและการช่วยเหลือในกรณีที่เกิดปัญหาหรือข้อขัดข้องในการใช้งาน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- ข้อตกลงการบำรุงรักษาและบริการ มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุรายละเอียดของบริการที่ผู้ให้บริการจะมอบให้กับลูกค้าในการดูแลรักษาระบบ Odoo ที่ได้ติดตั้งไปแล้ว เช่น การแก้ไขปัญหาทางเทคนิค การอัปเดตระบบ และการให้คำปรึกษา โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ระบบ Odoo ของลูกค้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่องตลอดอายุการใช้งาน
- ข้อกำหนดและนิยาม
- ระบบ Odoo หมายถึง ซอฟต์แวร์บริหารจัดการธุรกิจแบบครบวงจรที่พัฒนาโดยบริษัท Odoo SA และได้รับการติดตั้งและปรับแต่งให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า
- โมดูล หมายถึง ส่วนประกอบย่อยของระบบ Odoo ที่มีหน้าที่เฉพาะ เช่น โมดูลการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (CRM), โมดูลการจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory), เป็นต้น
- การปรับแต่ง (Customization) หมายถึง การแก้ไขหรือเพิ่มเติมฟังก์ชันการทำงานของระบบ Odoo เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการเฉพาะของลูกค้า
- ผู้ให้บริการ หมายถึง บริษัท ไซเบอร์เนติกส์ พลัส จำกัด ซึ่งเป็นผู้ให้บริการบำรุงรักษาและสนับสนุนระบบ Odoo ตามข้อตกลงฉบับนี้
- ลูกค้า หมายถึง ลูกค้าผู้รับบริการ ภายใต้โครงการพัฒนาระบบและการติดตั้ง Odoo ERP ซึ่งเป็นผู้ใช้ระบบ Odoo และเป็นผู้รับบริการตามข้อตกลงฉบับนี้
- วันทำงาน หมายถึง วันจันทร์ถึงวันศุกร์ เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ของประเทศไทย
- ชั่วโมงทำงาน หมายถึง ช่วงเวลา 09.00 น. ถึง 18.00 น. ในวันทำงาน
- Ticket หมายถึง หน่วยงานที่ใช้ในการบันทึกและติดตามปัญหาหรือคำขอความช่วยเหลือจากลูกค้า
- ปัญหา (Issue) หมายถึง สภาวะที่ระบบ Odoo ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติหรือไม่เป็นไปตามข้อกำหนดที่กำหนดไว้
- การแก้ไขปัญหา หมายถึง การดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบ Odoo ให้กลับมาทำงานได้ตามปกติ
- การอัปเกรด หมายถึง การติดตั้งเวอร์ชันใหม่ของระบบ Odoo หรือโมดูลต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและฟังก์ชันการทำงาน
- การสำรองข้อมูล หมายถึง การคัดลอกข้อมูลของระบบ Odoo ไปเก็บไว้ในสื่อบันทึกข้อมูลอื่น เพื่อใช้ในการกู้คืนข้อมูลในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด
- การสนับสนุนทางเทคนิค หมายถึง การให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่ลูกค้าในการใช้งานระบบ Odoo เช่น การตอบคำถาม, การแก้ไขปัญหาเบื้องต้น, และการให้คำแนะนำ
- การฝึกอบรม หมายถึง การจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ใช้งานระบบ Odoo เพื่อให้สามารถใช้งานระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ระดับความสำคัญของปัญหา หมายถึง ระดับความเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหา โดยแบ่งออกเป็นระดับต่างๆ เช่น ปัญหาร้ายแรง, ปัญหาสำคัญ, ปัญหาทั่วไป
- เวลาตอบสนอง หมายถึง ระยะเวลาที่ผู้ให้บริการจะต้องตอบกลับคำขอความช่วยเหลือจากลูกค้า
- เวลาแก้ไขปัญหา หมายถึง ระยะเวลาที่ผู้ให้บริการจะต้องแก้ไขปัญหาให้แล้วเสร็จ
- สภาพแวดล้อมการทำงาน หมายถึง ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และเครือข่ายที่ใช้ในการใช้งานระบบ Odoo
- ข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบุคคลธรรมดาที่สามารถระบุตัวตนได้
- ความลับทางธุรกิจ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นความลับทางธุรกิจของทั้งสองฝ่าย
- ความหมายและบริการที่ระบุ
- Service Management (การบริหารจัดการบริการ) ผู้ให้บริการจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการบริการทั้งหมดที่ระบุไว้ในข้อตกลงฉบับนี้ รวมถึงการรับแจ้งปัญหา การติดตามสถานะการแก้ไขปัญหา การประสานงานกับทีมงานที่เกี่ยวข้อง และการรายงานผลการดำเนินงานให้ลูกค้าทราบเป็นระยะ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้แน่ใจว่าลูกค้าได้รับบริการอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง
- Customization Maintenance (การบำรุงรักษาส่วนที่ปรับแต่ง) ผู้ให้บริการจะทำการดูแลรักษาส่วนที่ได้ทำการปรับแต่งเพิ่มเติมให้กับระบบ Odoo ของลูกค้า เพื่อให้มั่นใจว่าการปรับแต่งเหล่านั้นยังคงทำงานได้อย่างถูกต้องและสอดคล้องกับการอัปเดตของระบบ Odoo ในอนาคต รวมถึงการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการปรับแต่งเหล่านี้
- Support Meeting (การประชุมสนับสนุน) ผู้ให้บริการและลูกค้าจะจัดการประชุมกันเป็นระยะเพื่อติดตามความคืบหน้าของการให้บริการ ตอบข้อซักถาม และหารือเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานระบบ Odoo การประชุมนี้จะช่วยให้ทั้งสองฝ่ายสามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- Service Standby Agreement
- Usage Support (การสนับสนุนการใช้งาน) ผู้ให้บริการจะให้คำแนะนำและตอบข้อซักถามเกี่ยวกับการใช้งานระบบ Odoo แก่ลูกค้าผ่านช่องทางที่กำหนด เช่น ระบบ Service Ticket ,Email หรือโทรศัพท์ เวลาในการให้บริการปกติ ในช่วงเวลา 9.00 - 17.00 น. ตั้งแต่วันจันทร์ - วันเสาร์ ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์
- Technical Support (การสนับสนุนทางเทคนิค) ผู้ให้บริการจะทำการแก้ไขปัญหาทางเทคนิคที่เกิดขึ้นกับระบบ Odoo ของลูกค้า เช่น ปัญหาในการเข้าสู่ระบบ, ปัญหาในการใช้งานฟังก์ชันต่างๆ, หรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆ เวลาในการให้บริการปกติ ในช่วงเวลา 9.00 - 17.00 น. ตั้งแต่วันจันทร์ - วันเสาร์ ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์
- บริการสนับสนุนนอกเวลาทำการ (After-hours Support) หากลูกค้าต้องการบริการ Usage Support หรือ Technical Support นอกช่วงเวลาทำการปกติ (17.00 - 09.00 น. หรือตลอด 24 ชั่วโมงในวันหยุดนักขัตฤกษ์) สามารถแจ้งขอรับบริการได้ โดยผู้ให้บริการจะมีอัตราค่าบริการเพิ่มเติมสำหรับการสนับสนุนนอกเวลาทำการ ทั้งนี้ การให้บริการสนับสนุนนอกเวลาทำการจะต้องมีการนัดหมายล่วงหน้าหรือแจ้งขอรับบริการผ่านระบบ Service Ticket, อีเมล หรือช่องทางที่กำหนด ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ให้บริการสามารถจัดสรรทรัพยากรได้อย่างเหมาะสมและให้การสนับสนุนที่มีประสิทธิภาพแก่ลูกค้า
- Server Backup (การสำรองข้อมูลเซิร์ฟเวอร์)
- ผู้ให้บริการจะทำการสำรองข้อมูลของระบบ Odoo ของลูกค้าเป็นประจำตามกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูลในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด เช่น ไวรัส, ฮาร์ดแวร์ขัดข้อง หรือภัยธรรมชาติ ผู้ให้บริการจะทำการสำรองข้อมูลทุกวันและเก็บสำรองข้อมูลรายเดือนเป็นเวลา 3 เดือน โดยลบข้อมูลสำรองที่เกินกำหนดอายุ 3 เดือนโดยอัตโนมัติ
- Data Leaning & Update (การทำความสะอาดและอัปเดตข้อมูล) ผู้ให้บริการอาจให้บริการทำความสะอาดและอัปเดตข้อมูลในระบบ Odoo ของลูกค้าตามความต้องการ เช่น การลบข้อมูลที่ไม่จำเป็น, การแก้ไขข้อมูลที่ผิดพลาด, หรือการอัปเดตข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน
- Travel & Accommodation (ค่าเดินทางและที่พัก) ในกรณีที่จำเป็นต้องให้บริการนอกสถานที่ เช่น การติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม หรือการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน ผู้ให้บริการอาจเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการเดินทางและที่พักตามจริง
- Base Condition เงื่อนไขการ Implement ระบบ
- Odoo Release ประเภท Edition ที่ต้องการ Implement
- Enterprise Edition เป็นเวอร์ชันที่เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่และองค์กรที่มีโครงสร้างซับซ้อน Enterprise Edition มาพร้อมฟังก์ชันและโมดูลเสริมที่ครอบคลุม เช่น การวางแผนทรัพยากรองค์กร (ERP), การจัดการการผลิต และการบริหารโครงการ นอกจากนี้ยังรวมถึงการสนับสนุนและการอัปเดตซอฟต์แวร์อย่างต่อเนื่องจาก Odoo โดยตรง เพื่อให้มั่นใจว่าระบบมีประสิทธิภาพและทันสมัยอยู่เสมอ อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้จำเป็นต้องชำระค่าลิขสิทธิ์หรือค่าใบอนุญาตการใช้งานเพิ่มเติม
- Community Edition เป็นเวอร์ชันพื้นฐานของ Odoo ที่ทางผู้ให้บริการสามารถเข้าถึงและปรับแต่งระบบได้ ซึ่งเพียงพอสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและกลางที่ต้องการระบบบริหารจัดการที่ครอบคลุม แต่มีงบประมาณจำกัด อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นเวอร์ชันพื้นฐาน การสนับสนุนด้านเทคนิคอาจจำกัด และฟังก์ชันบางอย่างอาจไม่ครอบคลุมเท่ากับเวอร์ชัน Enterprise
- Implement Method ลักษณะการดำเนินโครงการ Project Implementation Method
- Most Onsite หมายถึง ระหว่างการ Implement จะมีการเดินทางไปที่สำนักงานของลูกค้าเพื่อดำเนินโครงการเป็นส่วนมาก
- Half / Half หมายถึง ระหว่างการ Implement จะมีการเดินทางไปที่สำนักงานของลูกค้าและเการประชุมออนไลน์เพื่อดำเนินโครงการ คละกัน
- Most Online หมายถึง ระหว่างการ Implement จะมีการประชุมออนไลน์เพื่อดำเนินโครงการเป็นส่วนมาก
- Team Lead Class บุคลากรที่ใช้ในการดำเนินโครงการ Personnel used in project implementation
- Specialist หมายถึง ใช้บุคลากรที่เชี่ยวชาญ สำหรับดำเนินโครงการ
- Certified หมายถึง ใช้บุคลากรที่ผ่านการรับรองโดยบริษัท สำหรับการดำเนินโครงการ
- Qualified หมายถึง ใช้บุคลากรที่ผ่านการรับรองโดย Odoo สำหรับการดำเนินโครงการ
- Gap Layer ระดับการทำ Gap Analysis ซึ่งแต่ละระดับจะส่งผลถึงกิจกรรมที่เกิดขึ้น และสิ่งส่งมอบ The Gap Analysis level, each level affects the activities that take place and the deliverables.
- Deep Gap หมายถึง การทำ Gap Analysis ที่มีรายละเอียดสูง
- Essential Gap หมายถึง การทำ Gap Analysis ที่มีรายละเอียดทั่วไป
- Pre Gap หมายถึง การทำ Gap Analysis ที่มีเพียงเพื่อประเมินการใช้งาน ERP เบื้องต้น
- System Base Server ที่จะทำการขึ้นระบบที่ต้องการ Implement
- Odoo.SH
- Google Cloud
- Huawei Cloud
- Amazon Web Services
- Microsoft Azure
- DigitalOcean
- Other ..........................
- On Premise
- เงื่อนไขการอัปเกรด Version
- ในกรณีที่มีการอัปเกรดเวอร์ชันของระบบ Odoo จากการดำเนินการโดย Odoo SH และการอัปเกรดดังกล่าวสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ผู้ให้บริการจะดำเนินการอัปเกรดระบบให้แก่ลูกค้าโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม หากการอัปเกรดเวอร์ชันส่งผลให้เกิดปัญหาหรือข้อผิดพลาดที่เกี่ยวข้องกับส่วนที่ลูกค้าได้ทำการปรับแต่งเพิ่มเติมเข้าไปในระบบ ผู้ให้บริการขอสงวนสิทธิ์ในการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับการแก้ไขปัญหาและปรับแต่งระบบให้กลับสู่สภาพปกติ
- สำหรับลูกค้าที่ใช้งาน Odoo Community และต้องการอัปเกรดไปยังเวอร์ชันที่ใหม่กว่านั้น จะต้องทำการติดตั้งระบบใหม่ทั้งหมด (Re-Implement) เนื่องจากโครงสร้างของฐานข้อมูลและฟังก์ชันการทำงานในแต่ละเวอร์ชันของ Odoo มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ การทำ Re-Implement จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลของลูกค้าจะถูกย้ายไปยังระบบใหม่ได้อย่างสมบูรณ์และถูกต้อง และลูกค้าจะได้รับประโยชน์จากฟีเจอร์ใหม่ๆ รวมถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นในเวอร์ชันล่าสุด เนื่องจากโครงสร้างฐานข้อมูลและฟังก์ชันการทำงานของ Odoo ในแต่ละเวอร์ชันมีความแตกต่างกันอย่างมาก การอัปเกรดเวอร์ชันจึงไม่สามารถทำได้โดยการปรับปรุงระบบเดิม แต่จำเป็นต้องทำการติดตั้งระบบใหม่ทั้งหมด (Re-Implement) กระบวนการ Re-Implement จะเกี่ยวข้องกับการโอนย้ายข้อมูล การกำหนดค่าระบบใหม่ และการทดสอบระบบ ซึ่งจะช่วยให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลของลูกค้าจะถูกย้ายไปยังระบบใหม่ได้อย่างสมบูรณ์และถูกต้อง ลูกค้าจะได้รับประโยชน์จากฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่เพิ่มเข้ามาในเวอร์ชันล่าสุด เช่น การใช้งานที่ง่ายขึ้น ความสามารถในการปรับแต่งที่สูงขึ้น และการรองรับเทคโนโลยีล่าสุด
- Odoo SH ให้การสนับสนุนเฉพาะ Odoo เวอร์ชันล่าสุดและเวอร์ชันที่ออกใน 3 ปีล่าสุดเท่านั้น หากลูกค้ายังคงใช้เวอร์ชันที่เก่ากว่านั้น อาจไม่ได้รับการสนับสนุนด้านเทคนิคหรือการแก้ไขปัญหาจาก Odoo SH ทางผู้ให้บริการจึงแนะนำให้ลูกค้าทำการอัปเกรดเวอร์ชันของระบบอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรับประโยชน์จากฟีเจอร์ใหม่ๆ การปรับปรุงประสิทธิภาพ และการรักษาความปลอดภัยที่ดียิ่งขึ้น
- ความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างใช้ระบบ
- ความผิดพลาดจากการใช้งานของลูกค้า
- การป้อนข้อมูลผิดพลาด
- การใช้งานฟังก์ชันไม่ถูกต้อง
- การกำหนดค่าระบบไม่เหมาะสม
- ความผิดพลาดจากระบบ
- ข้อผิดพลาดของซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์
- ปัญหาการเชื่อมต่อเครือข่าย
- ความผิดพลาดจากการปรับแต่งระบบ
- การปรับแต่งโมดูลเพิ่มเติมโดยลูกค้า ทำให้เกิดความขัดแย้งกับระบบหลัก
- ค่าใช้จ่าย ในกรณีที่เกิดความผิดพลาด ผู้ให้บริการจะดำเนินการแก้ไขปัญหาให้แก่ลูกค้าโดยเร็วที่สุด โดยจะประเมินสาเหตุของปัญหาและแจ้งให้ลูกค้าทราบถึงระยะเวลาในการแก้ไขปัญหาโดยประมาณ อย่างไรก็ตาม หากการแก้ไขปัญหาต้องใช้ทรัพยากรเกินกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญา เช่น ต้องใช้เวลาในการแก้ไขปัญหาเป็นเวลานาน หรือต้องใช้ความรู้ความสามารถเฉพาะทางในการแก้ไขปัญหา ลูกค้าอาจต้องชำระค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
- กรณีตัวอย่าง
- ลูกค้าป้อนข้อมูลวันที่ผิดพลาด ทำให้รายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลไม่ถูกต้อง ผู้ให้บริการจะทำการตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง
- ระบบขัดข้องเนื่องจากปัญหาทางเทคนิค ผู้ให้บริการจะทำการตรวจสอบระบบและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น การรีบูตเซิร์ฟเวอร์ หรือการแก้ไขโค้ดโปรแกรม
- โมดูลที่ลูกค้าปรับแต่งเองเกิดความขัดแย้งกับระบบ ผู้ให้บริการจะทำการวิเคราะห์ปัญหาและแก้ไขโมดูลที่ปรับแต่ง หรือแนะนำให้ลูกค้าย้อนกลับไปใช้ค่าตั้งต้นของระบบ
- ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่อาจเกิดขึ้น อาจรวมถึงค่าแรงของผู้เชี่ยวชาญ ค่าอะไหล่ หรือค่าบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหา
- เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น ลูกค้าควรปฏิบัติตามคู่มือการใช้งานอย่างเคร่งครัด และแจ้งให้ผู้ให้บริการทราบทันทีเมื่อพบปัญหา
- ขอบเขตของการดูแล
- บริษัทฯ ขอยืนยันว่าขอบเขตการให้บริการดูแลรักษาภายใต้ข้อตกลง นี้ ครอบคลุมเฉพาะส่วนของระบบที่ลูกค้าได้ทำการติดตั้งและปรับแต่งร่วมกับบริษัทฯ เท่านั้น โดยขอบเขตการให้บริการดังกล่าวจะระบุไว้อย่างชัดเจนในเอกสารแนบท้ายฉบับนี้ สำหรับส่วนของระบบที่ลูกค้าได้ดำเนินการติดตั้งหรือปรับแต่งด้วยตนเอง หรือผ่านผู้ให้บริการรายอื่น บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการไม่รับประกันการทำงานของระบบส่วนนั้น
- หากลูกค้ามีความประสงค์ที่จะขยายขอบเขตการให้บริการ MASA ไปยังส่วนของระบบที่ไม่ได้ดำเนินการร่วมกับบริษัทฯ บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการทำการประเมินความพร้อมของระบบ (Gap Re-Assessment) ก่อนการตัดสินใจให้บริการ โดยการประเมินดังกล่าวจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม และผลการประเมินจะเป็นตัวกำหนดขอบเขตและค่าใช้จ่ายในการให้บริการที่แท้จริง
- การกำหนดขอบเขตการให้บริการที่ชัดเจนนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการมีความเข้าใจตรงกัน และเพื่อให้บริษัทฯ สามารถมอบบริการดูแลรักษาที่มีคุณภาพสูงสุดแก่ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทฯ ขอแนะนำให้ลูกค้าแจ้งความต้องการในการขยายขอบเขตการให้บริการล่วงหน้า เพื่อให้บริษัทฯ ได้มีการวางแผนและเตรียมความพร้อมในการให้บริการ
- การแจ้งปัญหา
- ลูกค้าสามารถแจ้งปัญหาที่พบในการใช้งานระบบ ได้หลากหลายช่องทาง
- เบอร์โทรศัพท์ - ติดต่อโดยตรงมายังหมายเลขโทรศัพท์ที่กำหนดไว้
- อีเมล - ส่งอีเมลมาที่อีเมลแอดเดรสที่ระบุไว้
- ระบบ Service Ticket บนเว็บไซต์ - สร้าง Service Ticket เพื่อแจ้งปัญหาโดยตรงผ่านเว็บไซต์ของบริษัท
- กระบวนการแจ้งและแก้ไขปัญหาผ่านระบบ Service Ticket
- การสร้าง Service Ticket
- ลูกค้าเข้าสู่ระบบและสร้าง Service Ticket เพื่อแจ้งรายละเอียดปัญหาที่พบ
- ระบุรายละเอียดปัญหาอย่างชัดเจน พร้อมแนบไฟล์หรือรูปภาพประกอบหากมี
- การจัดการปัญหา
- ระบบจะทำการแจกจ่าย Service Ticket ให้กับทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องโดยอัตโนมัติ
- ทีมงานจะดำเนินการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาโดยเร็วที่สุด
- การติดตามผล
- ลูกค้าสามารถติดตามสถานะการแก้ไขปัญหาผ่านระบบ Service Ticket ได้ตลอดเวลา
- เมื่อปัญหาได้รับการแก้ไขแล้ว ระบบจะแจ้งให้ลูกค้าทราบโดยทันที
- รายงาน
- การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลจาก Service Ticket ที่ลูกค้าส่งเข้ามาจะถูกนำไปวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำๆ
- การปรับปรุงระบบ ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์จะถูกนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาระบบ MASA ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
- การสร้างรายงาน สร้างรายงานสรุปผลการแก้ไขปัญหา เพื่อนำเสนอต่อผู้บริหารและใช้ในการวางแผนการพัฒนาระบบในอนาคต
- การแก้ไขปัญหา
- การสนับสนุนด้วยการถาม-ตอบ ผู้รับบริการสามารถสอบถามข้อสงสัยหรือปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับบริการที่ได้รับ โดยตรงกับผู้ให้บริการผ่านช่องทางที่กำหนดไว้ ผู้ให้บริการจะดำเนินการตอบข้อซักถามและแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้รับบริการอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงความพึงพอใจของผู้รับบริการเป็นสำคัญ ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาจะดำเนินการภายใต้เงื่อนไขและระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา .
- การ Access เข้าระบบหลังบ้าน และแก้ไขปัญหา ผู้รับบริการตกลงที่จะมอบสิทธิ์การเข้าถึงระบบหลังบ้านให้แก่ผู้ให้บริการ เพื่อให้ผู้ให้บริการสามารถตรวจสอบ แก้ไข และปรับปรุงระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้รับบริการจะกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงที่จำเป็นสำหรับผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการจะรับผิดชอบในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ได้รับมอบหมาย และจะไม่นำข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิด ผู้รับบริการมีสิทธิ์ตรวจสอบการทำงานของผู้ให้บริการในการเข้าถึงระบบหลังบ้านได้ตลอดเวลา
- การปรับปรุงระบบโดยที่ต้องหยุดใช้งาน ผู้ให้บริการอาจจำเป็นต้องดำเนินการปรับปรุงระบบเป็นระยะ ซึ่งอาจส่งผลให้บริการบางส่วนหรือทั้งหมดหยุดชะงักชั่วคราว ผู้ให้บริการจะแจ้งให้ผู้รับบริการทราบล่วงหน้าเกี่ยวกับกำหนดการปรับปรุงระบบ รวมถึงระยะเวลาที่คาดว่าจะใช้ในการปรับปรุง และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับการใช้งานบริการ โดยผู้ให้บริการจะพยายามดำเนินการปรับปรุงระบบในช่วงเวลาที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของผู้รับบริการน้อยที่สุด
- ระดับ SLA สำหรับการสนับสนุน (SLA Support Levels) ภายใต้ขอบเขตการให้บริการ Service Support Standby ช่วงเวลาทำการปกติ (09.00 - 17.00 น. วันจันทร์ถึงวันเสาร์ ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) การให้บริการแบ่งเป็นระดับ SLA ดังนี้
- Online Critical Support
Response Time - ทีมงานจะตอบรับคำขอภายใน 15 นาที
Feedback Solution - เสนอแนวทางแก้ไขภายใน 6 ชั่วโมง
Resolution Time - แก้ไขปัญหาให้เสร็จสมบูรณ์ภายใน 48 ชั่วโมง - Online General Support
Response Time - ทีมงานจะตอบรับคำขอภายใน 90 นาที
Feedback Solution - เสนอแนวทางแก้ไขภายใน 3 วันทำการ
Resolution Time - แก้ไขปัญหาให้เสร็จสมบูรณ์ภายใน 14 วันทำการ - Onsite Service Support หากจำเป็นต้องเข้าบริการที่สถานที่ของลูกค้า ค่าใช้จ่ายสำหรับการเดินทาง และที่พัก (Travel & Accommodation) จะไม่รวมอยู่ในสัญญาและอาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมตามจริง
- Online Critical Support